การลงทุนในตราสารหนี้ ผู้สนใจสามารถเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับตราสารหนี้ ดังนี้
- รหัสหลักทรัพย์สากลและสัญลักษณ์ของตราสารหนี้/_catalogs/masterpage/img/expand.png
ในปัจจุบันตราสารหนี้ที่ออกแต่ละรุ่นจะมีรหัสที่ใช้กำกับตราสารหนี้ประจำรุ่นซึ่งประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลขรหัสตราสารหนี้ ที่ใช้ในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ
รหัสหลักทรัพย์สากล (International Securities Identification Number : ISIN) ใช้ระบุรุ่นตราสารหนี้ในการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดแรก และการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ที่ ธปท
สัญลักษณ์ของตราสารหนี้ (ThaiBMA Symbol) ใช้ระบุรุ่นตราสารหนี้สำหรับการซื้อขายในตลาดรองกับธนาคารพาณิชย์ หรือซื้อขายผ่านระบบการซื้อขายตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange : BEX)
สำหรับการประมูลตราสารหนี้ในตลาดแรกที่ ธปท. ผ่านระบบการประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Bidding) จะมีรหัสตราสารหนี้ให้เลือกทั้ง 2 ชนิด เมื่อผู้ประมูลเลือกรหัสชนิดใดชนิดหนึ่ง ระบบจะแสดงรหัสอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นรุ่นที่ตรงกัน
ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างรหัสหลักทรัพย์สากล กับสัญลักษณ์ของตราสารหนี้
รายการ
รหัสหลักทรัพย์สากล
(International Securities
Identification Number : ISIN)
สัญลักษณ์ของตราสารหนี้
(Thai BMA Symbol)
- ผู้กำหนด
บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (Thailand Securities Depository Co.,Ltd. : TSD)
สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (Thai Bond Market Association : Thai BMA)
- ชื่อย่อประเทศ ต้องมี เพราะใช้เป็นสากล ไม่ต้องมี เพราะใช้ภายในประเทศ
- จำนวนหลัก 12 หลัก 6-12 หลัก
4. รหัสผู้ออกหลักทรัพย์ กำหนดด้วยตัวเลข 4 หลัก เช่น 0623 หมายถึงกระทรวงการคลัง 0655 หมายถึงธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น
กำหนดด้วยตัวอักษร เข้าใจง่าย เช่น
BOT หรือ CB หมายถึงธนาคารแห่งประเทศไทย
EXAT หมายถึงการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
สำหรับกรณีของพันธบัตรรัฐบาลใช้ LB
ตั๋วเงินคลังใช้ TB เป็นต้น
- ปีที่ครบกำหนดไถ่ถอน (ปี ค.ศ.) กำหนดด้วยตัวเลขหรือตัวอักษรเพียง 1 หลัก เช่น ปี ค.ศ.1999 ใช้ตัวเลข 9, ปี ค.ศ.2000 ใช้ตัวอักษร A, ปี ค.ศ.2008 ใช้ตัวอักษร I เป็นต้น กำหนดด้วยตัวเลข 2 หลักสุดท้ายของปี ค.ศ. เช่น ปี ค.ศ.1999 ใช้ตัวเลข 99,
ปี ค.ศ.2000 ใช้ตัวเลข 00, ปี ค.ศ.2008 ใช้ตัวเลข 08 เป็นต้น
6. เดือนที่ครบกำหนดไถ่ถอน
ม.ค.-ก.ย. กำหนดด้วยตัวเลข 1-9
ต.ค., พ.ย., ธ.ค. กำหนดด้วย A, B, C
ม.ค.-ก.ย. กำหนดด้วยตัวเลข 1-9
ต.ค., พ.ย. ธ.ค. กำหนดด้วย O, N, D
7. วันที่ครบกำหนดไถ่ถอน ไม่กำหนด กำหนดวันที่ครบกำหนดไถ่ถอนสำหรับตราสารหนี้ภาครัฐที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี และตราสารหนี้ระยะสั้นที่ออกโดยภาคเอกชน - Checking Digit หลักสุดท้าย จะเป็นตัวเลข Checking digit ซึ่งได้มาจากการคำนวณ ไม่มี check digit.
ตัวอย่างการกำหนดรหัสหลักทรัพย์สากล และสัญลักษณ์ของตราสารหนี้
ตราสารหนี้
ISIN Code ThaiBMA Symbol
พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2547 ครั้งที่ 3
ครบกำหนด 14 พฤษภาคม 2551
TH062303I503
LB085A
พันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ.2549/3
ครบกำหนด 16 กุมภาพันธ์ 2557
TH065203O203
GHB142A
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย งวดที่ 9/182/47
ครบกำหนด 2 กันยายน 2547
TH0655E7E980
CB04902B
ตั๋วเงินคลัง งวดที่ L36/90/47
ครบกำหนด 1 กันยายน 2547
TH062307E982
TB04901A