ผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดตราสารหนี้และพันธบัตร แบ่งตามบทบาทที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- ผู้ออกตราสารหนี้ : ผู้ออกตราสารทางการเงินที่แสดงความเป็นหนี้ ซึ่งเป็นภาระผูกพันทางกฎหมายระหว่าง เจ้าหนี้ กับ ลูกหนี้
ลูกหนี้คือผู้ออกตราสารหนี้ เช่น กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ รัฐวิสาหกิจ ส่วนเจ้าหนี้คือผู้ซื้อตราสารหนี้หรือผู้ลงทุน - ผู้จัดจำหน่ายหรือตัวแทนจำหน่าย : สถาบันการเงินที่ผู้ออกตราสารหนี้แต่งตั้งให้ดำเนินการจำหน่ายตราสารหนี้ของผู้ออกตามความตกลงร่วมกัน เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจ
- ผู้ถือกรรมสิทธิ์ หมายถึงผู้ซื้อหรือผู้รับโอนหรือผู้ประมูลตราสารหนี้ เช่น บุคคลธรรมดา นิติบุคคล สถาบันการเงิน
- ผู้รับฝากหลักทรัพย์ : ผู้ทำหน้าที่ในการดูแลและรับฝากพันบัตรหรือหลักทรัพย์ เช่น ธนาคารพาณิชย์ (ในฐานะ Custodian) และบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) รับฝากพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร Scripless
- นายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงิน : ผู้ทำหน้าที่ในการดูแล รักษาข้อมูล การให้บริการธุรกรรมด้านพันธบัตรและตราสารหนี้การจ่ายดอกเบี้ยและต้นเงิน เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย
- บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด (NITMX) : เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของธนาคารพาณิชย์ไทย ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งในและต่างประเทศ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยโอนเงินค่าดอกเบี้ยและต้นเงินให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรผ่านระบบ Bulk Payment ของบริษัท
- ผู้รับหลักประกัน : หน่วยงานราชการ องค์กรของรัฐ สถาบันการเงิน และบุคคล เช่น ศาล การไฟฟ้า ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจ บุคคลธรรมดา ที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์นำตราสารหนี้ไปวางเป็นหลักประกันต่าง ๆ เช่น ประกันตัวผู้ต้องหา ประกันการใช้ไฟฟ้า ประกันการขอสินเชื่อ
- ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย : หน่วยงานราชการที่มีอำนาจตามกฎหมายในการให้นายทะเบียนตรวจสอบกรรมสิทธิ์ ระงับการจำหน่าย จ่าย โอน (อายัด ยึด) ตราสารหนี้ ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ เช่น กรมสรรพากร ศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ธนาคารแห่งประเทศไทยมีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ภาครัฐ ดังนี้
1. วางแผนร่วมกับผู้ออกตราสารหนี้ เกี่ยวกับการออกตราสารหนี้ในตลาดแรก รวมทั้งเป็นผู้ออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินนโยบายการเงิน การดูแลสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน และเพื่อขยายฐานนักลงทุน อันจะเอื้อต่อการพัฒนาตลาดเงินและตลาดตราสารหนี้
- กำกับดูแล/จัดจำหน่ายตราสารหนี้ภาครัฐในตลาดแรก
2.1 กำกับดูแลและประสานกับตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ออกตราสารหนี้ และการออกตราสารให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์
2.2 เป็นผู้จัดจำหน่ายตราสารหนี้ภาครัฐให้กับนักลงทุนสถาบันด้วยวิธีการประมูล (ยกเว้นพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ)
- เป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงิน
3.1 เป็นนายทะเบียน ดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนผู้ถือกรรมสิทธิ์ เช่น โอนกรรมสิทธิ์ จำนำ อายัด เป็นต้น
3.2 เป็นตัวแทนการจ่ายเงิน ดำเนินการจ่ายดอกเบี้ย และไถ่ถอนต้นเงิน - เป็นผู้แต่งตั้ง Primary Dealer เพื่อเป็นคู่ค้าตราสารหนี้ในการดำเนินนโยบายการเงิน
- ร่วมพัฒนาตลาดตราสารหนี้ กับกระทรวงการคลังหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น พัฒนาการออกตราสารหนี้ภาครัฐในตลาดแรก เพิ่มสภาพคล่องและประสิทธิภาพของตลาดรอง และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระบวนการส่งมอบและชําระราคาตราสารหนี้ เป็นต้น
รหัสหลักทรัพย์สากลและสัญลักษณ์ของตราสารหนี้/_catalogs/masterpage/img/expand.png
ในปัจจุบันตราสารหนี้ที่ออกแต่ละรุ่นจะมีรหัสที่ใช้กำกับตราสารหนี้ประจำรุ่นซึ่งประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลขรหัสตราสารหนี้ ที่ใช้ในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ
รหัสหลักทรัพย์สากล (International Securities Identification Number : ISIN) ใช้ระบุรุ่นตราสารหนี้ในการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดแรก และการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ที่ ธปท
สัญลักษณ์ของตราสารหนี้ (ThaiBMA Symbol) ใช้ระบุรุ่นตราสารหนี้สำหรับการซื้อขายในตลาดรองกับธนาคารพาณิชย์ หรือซื้อขายผ่านระบบการซื้อขายตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange : BEX)
สำหรับการประมูลตราสารหนี้ในตลาดแรกที่ ธปท. ผ่านระบบการประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-Bidding) จะมีรหัสตราสารหนี้ให้เลือกทั้ง 2 ชนิด เมื่อผู้ประมูลเลือกรหัสชนิดใดชนิดหนึ่ง ระบบจะแสดงรหัสอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นรุ่นที่ตรงกัน